เมนู

อนึ่ง ในคำว่า อุชฺฌายนฺติ เป็นต้นนี้ มีโยชนาดังนี้ คือมนุษย์
ทั้งหลาย เมื่อคิดถึงเรื่องราวเป็นต้นว่า พระสมณศากยบุตรเหล่านี้ เป็นผู้
ไม่มีความละอาย ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมเพ่งโทษ, เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า พระ-
สมณศากยบุตรเหล่านี้ ไม่มีคุณเครื่องเป็นสมณะ ดังนี้ ชื่อว่าย่อมติเตียน,
เมื่อกระจายข่าวกว้างขวางออกไปในสถานที่นั้น ๆ เป็นต้นว่า พระสมณะ
ศากยบุตรเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะแล้ว ดังนี้ ชื่อว่าย่อมโพนทะนาข่าว
แม้ต่อจากนี้ไป ก็ควรทราบโยชนาแห่งบทเหล่านี้ ตามควรแก่บทที่มาแล้วใน
ที่นั้น ๆ โดยนัยนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจาริโน คือ ผู้ประพฤติประเสริฐ
ความเป็นสมณะ ชื่อสามัญญะ. ความเป็นผู้ประเสริฐ ชื่อพรหมมัญญะ. คำที่
เหลือมีใจความตื้นแล้วทั้งนั้น.
ในคำว่า รญฺโญ ทารูนิ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ใจความนี้ว่า
ได้ถือเอาไม้ของหลวง ที่มิได้พระราชทาน ดังนี้ มีความเพ่งโทษเป็นอรรถ.
อนึ่ง เพื่อแสดงถึงไม้ที่มิได้พระราชทาน ซึ่งพระธนิยะได้ถือเอาแล้วนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ไม้ของหลวง เป็นต้น. อันผู้ศึกษาทั้งหลาย เมื่อไม่หลงลืมความ
ต่างแห่งวจนะ ก็ควรทราบใจความดังอธิบายมาฉะนี้แล.

[

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท

]
สองบทว่า ปุราณโวหาริโก มหามตฺโต มีความว่า มหาอำมาตย์
ผู้ถึงความนับว่า ผู้พิพากษา เพราะถูกแต่งตั้งไว้ในโวหารคือการตัดสินความ
ในกาลก่อนแต่ความเป็นภิกษุ คือ ในเวลาเป็นคฤหัสถ์.
หลายบทว่า อถโข ภควา ตํ ภิกฺขุํ เอตทโวจ อธิบายความว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงทราบแม้ซึ่งบัญญัติแห่งโลกอยู่ด้วยพระองค์เอง